All posts by admin

Project

โครงงานนักศึกษา วิศวกรรมอุตสาหการ ปีการศึกษา 2564

นักศึกษา เตรียมสอบ final หลังสอบ ปลายภาค ทางสาขาวิชาจะประกาศ วันเวลา ให้ทราบอีกครั้ง

โรงเรียนพี่เลี้ยง

โครงการ การส่งเสริมศักยภาพครูและนักเรียนด้านวิชาการ ด้านทักษะชีวิต ผ่านการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี ปี การศึกษา 2563
รายละเอียดเพิ่มเติม

ติดต่อเรา

    เลือกหัวข้อที่สอบถาม

    เรื่องที่สนใจ
    แผนการเรียนภาคปกติแผนการเรียนภาคพิเศษ ( เสาร์-อาทิตย์)

    เอกสารตัวอย่าง


    หลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ IE (เสาร์-อาทิตย์)

    ปัจจุบันตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าในประเทศต่างๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และระหว่างประเทศได้ถูกแนวทางการค้าเสรี  ซึ่งเป็นการค้าที่ไร้ขอบเขตพรมแดนระหว่างประเทศ ดังตัวอย่างที่เกิดเขตการค้าเสรีหรือเขตเศรษฐกิจเสรีขึ้นอย่างมากมายหลายแห่งในโลกและเป็นแนวโน้มที่จะต้องเกิดและขยายตัว ขึ้นในทั่วทุกดินแดน การดำเนินการการค้าในยุคการค้าเสรีเช่นนี้ องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลางหรือขนาดใหญ่เป็นการค้าในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับสากล ต่างต้องการพัฒนาและขยายตัวเพิ่มขึ้นและต้องการบุคลกรทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ที่พร้อมด้วยองค์ความรู้และเทคโนโลยีเครื่องมือที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน วิศวกรจะต้องรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ภายในประเทศ ซึ่งวิศวกรอุตสาหการ เป็นวิศวกรที่นำองค์ความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้เฉพาะในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ มาใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิต และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการวิเคราะห์ให้เกิดประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตสูงสุด เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กรธุรกิจในระดับต่างๆ และให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกคือ ต้องมีความรู้ทางภาษาอังกฤษในการเชื่อมโยงระบบทำงานร่วมกับวิศวกรต่างชาติรวมไปถึงการทำงานที่ต่างประเทศได้ รวมถึงการรู้เทคโนโลยีใหม่ ระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ 

                ผลกระทบจากสถานการณ์ภายนอกจึงจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกที่มีศักยภาพและสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและรองรับการแข่งขันในระบบการค้าเสรีที่จะเข้ามามีบทบาท มีผลกระทบต่อธุรกิจภายในประเทศในทุกระดับ โดยการผลิตบุคลากรทางวิศวกรรมอุตสาหการที่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ มีความเข้าใจในสถานการณ์ทางธุรกิจ สามารถนำความรู้หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเข้ามาใช้ให้เป็นข้อได้เปรียบหรือเครื่องมือที่สร้างความสามารถในกิจการธุรกิจรวมถึงการดูแลกำกับให้องค์กรสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสามารถในการปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เพื่อประยุกต์ใช้กับองค์กรธุรกิจ และมีคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ  

    ห้องปฏิบัติการ

     

    ห้องปฏิบัติการพื้นฐานวิศวกรรม

    พื้นฐานงานเชื่อม MMA
    พื้นฐานงานเชื่อม MIG/MAG
    พื้นฐานงานเชื่อม TIG
    พื้นฐานงานตะไบ
    พื้นฐานงานโลหะแผ่น
    พื้นฐานงานเจียระไน
    พื้นฐานงานเจาะ
    พื้นฐานงานเจาะ
    งานเลื่อยกล
    พื้นฐานงานกลึง
    พื้นฐานงานกลึง
    งานไส
    งานมิลลิ่ง
    งานมิลลิ่ง
    งานเลื่อยสายพาน
    งานวัด

    ห้องปฏิบัติการเครื่องจักรกลหนัก

    งานตัดโลหะ ด้วยLaser
    งานตัด/ งานพับ
    งานปั๊มโหละขึ้นรูป
    งานทดสอบวัสดุ

    ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ

    ครื่องตรวจสอบวัสดุ XRD
    เครื่องทดสอบ Tensile test
    เครื่องตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค
    เครื่องตรวจสอบข้อบกพร่องงานเชื่อมโลหะ

    Polymer Processing

    ห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุ
    เครื่องตรวจสอบUltrasonic Test
    เครื่องทดสอบ Impact test

    ห้องปฏิบัติการ Rapid Prototype

    ห้องปฏิบัติการวัสดุ Composite

    ห้องปฏิบัติการ Welding Engineering

    ห้องปฏิบัติการ Plant Simulation

    ห้องปฏิบัติการ Automation System

    ห้องปฏิบัติการ Engineering drawing

     

    ข้อมูลเบื้องต้น

    าขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ การผลิต และกระบวนการเคมีและสิ่งแวดล้อม

    1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

    2.หลักสูตรบัณฑิตศึกษา

    • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เข้าใจในสถานการณ์ของประเทศและของโลก สามารถตอบสนองกับเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่เรียกว่าไทยแลนด์ 4.0 หรือ ดิจิทัล ไทยแลนด์ และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ASEAN COMMUNITY รวมทั้งประชาคมโลก โดยมีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ พร้อมสำหรับการทำงาน การแก้ปัญหาและการพัฒนาความรู้ในสาขาวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณตามหลักวิชาวิชาชีพ มีความเข้าใจในบริบทของโลก บนพื้นฐานของสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีความพร้อมในการทำงาน รวมทั้งการเป็นผู้ประกอบการ SMEs หรือ วิสาหกิจตั้งใหม่ (Start Up) หรือประกอบอาชีพอิสระในสังคมพหุวัฒนธรรมและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ของสังคมและอุตสาหกรรมในทุกระดับ

    2 วัตถุประสงค์

    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณสมบัติดังนี้

    1. มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการ และวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการในระดับที่สูงขึ้น
    2. มีความสามารถในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์งาน และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
    3. มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพในการติดต่อสื่อสาร การเรียนรู้ และการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4. มีความสนใจใฝ่รู้ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสถานการณ์
    5. มีวุฒิภาวะ ความเป็นผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ และทักษะในการทำงานเป็นหมู่คณะและเครือข่าย สามารถบริหารจัดการงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    6. มีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ
    7. มีจิตสาธารณะ เสียสละ อุทิศตนเพื่อสังคม ถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบัน และประเทศชาติ
    8. มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานและใช้ชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม
    9. มีคุณธรรม จริยธรรม มีวินัย รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว องค์กร สังคม และประเทศชาติ ประกอบวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและมีจรรยาบรรณ

    3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิตหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

    หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ตามเกณฑ์ผลลัพธ์ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงาน Thailand Accreditation Body for Engineering Education (TABEE) และพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดังนี้

    (1) ความรู้และทักษะทางปัญญ

    • 1.1) มีความรู้ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์และวิชาชีพทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ได้อย่างเหมาะสมในการประกอบวิชาชีพและการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
    • 1.2) สามารถพิจารณาตรวจสอบ วินิจฉัย ประเมินผลงานและปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการทดลอง วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลสรุปที่ถูกต้องตามหลักเหตุผล

    (2) ทักษะด้านการทำงาน

    • 2.1) วิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรม ตั้งสมการความสัมพันธ์ สืบค้นเอกสาร และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนด้วยเครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิศวกรรม
    • 2.2) สามารถออกแบบและพัฒนาเพื่อหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน ในการคิดวิเคราะห์ ริเริ่มสร้างสรรค์งาน และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
    • 2.3) สามารถสร้าง เลือกประยุกต์ใช้เทคนิค อุปกรณ์ทางวิศวกรรมอุตสาหการ และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
    • 2.4) มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์เทคนิคทางวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการในการติดต่อสื่อสารด้วยวาจา การเขียนรายงาน การเสนอผลงาน การเขียนและอ่านแบบทางวิศวกรรม

    (3) ทักษะทางสังค

    • 3.1 มีจิตสาธารณะ คุณธรรม จริยธรรม ถือเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มีความเข้าใจและรับผิดชอบต่อการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมต่อบริบทของสังคม และประเมินผลกระทบของการแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อนต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
    • 3.2 รู้จักกาลเทศะ บุคลิกภาพที่ดี มีวินัย มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน มีความเข้าใจและยึดมั่นและถือปฏิบัติจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพตามกรอบมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
    • 3.3 ตระหนักถึงความจำเป็น และมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดชีพ ให้ทันต่อความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สถานการณ์ และความหลากหลายในสังคมพหุวัฒนธรรม

    (4) ทักษะด้านการจัดการ

    • 4.1 มีความรู้ความเข้าใจในด้านเศรษฐศาสตร์ การลงทุนและการบริหารงานวิศวกรรมโดย คำนึงถึงความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง
    • 4.2 มีความรู้พื้นฐานและทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ
    • 4.3 มีมนุษยสัมพันธ์ มีวุฒิภาวะ ทักษะในการทำงานเป็นทีมและเครือข่าย มีความเป็นผู้นำ


     

    คณาจารย์/บุคลากร

    อาจารย์วรธน ติลกการย์

    ตำแหน่ง ประธานหลักสูตร

    ผู้ข่วยศาสตราจารย์สุเนตร มูลทา

    ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร

    รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร สุรินทร์

    ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร

    ดร.วัฒนชัย ประสงค์

    ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร

    อาจารย์สาวิตรี พิบูลย์ศิลป์

    ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร

    อาจารย์สมเดช อิงคะวะระ

    ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตร

    นางนิรมล พรมเลิศ

    ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่เลขานุการหลักสูตร